วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

ตัวแปลภาษา

คอมพิวเตอร์จะทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เป็นภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ที่จะทำให้เข้าใจง่าย ที่เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาระดับสูง ที่นำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์นั้นที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆ เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาโลโก และภาษาจาวา เป็นต้น แต่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น ไม่สามารถเข้าใจภาษาดังกล่าว ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูง จะต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งตัวแปลภาษามีหลายประเภท ตัวแปลภาษาที่แปลจากภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) และตัวแปลที่แปลจากภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่องทีละคำสั่ง แล้วคอมพิวเตอร์ก็กระทำการตามภาษาเครื่องนั้นแล้วย้อนกับมาแปลคำสั่งต่อไปอีกเป็นลำดับไป เรียกว่า อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้จัก


ภาษาเบสิค (BASIC Language) สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาอื่น เหมาะกับงานธุรกิจขนาดเล็ก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม ลักษณะการทำงานของภาษาเบสิคระหว่างที่มีการเขียนโปรแกรม และรันโปรแกรม สามารถตรวจสอบการทำงานได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที เมื่อพบข้อผิดพลาด เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และสามารถใช้งานได้บนเครื่องทุกระดับ ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic Language) เป็นภาษาที่นำโครงสร้างของภาษาเบสิกมาใช้ โดยเพิ่มส่วนการเขียนโปรแกรมเป็นลักษณะ การเขียนโปรแกรมแบบ Visual ซึ่งหมายถึง การเขียนโปรแกรมด้วยภาพ หรือ การเขียนโปรแกรมด้วยสิ่งที่เรามองเห็น ที่เรียกกันว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษาปาสคาล (Pascal Language) ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง สามารถเขียนโปรแกรมแบ่งเป็นโปรแกรมย่อยได้อย่างง่าย ทำให้การพัฒนาและแก้ไข ทำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ภาษาภาษาเดลไฟล์ (Delphi) เป็นภาษาที่นำโครงสร้างของภาษา Pascal มาใช้ โดยเพิ่มส่วนการเขียนโปรแกรมเป็นลักษณะ การเขียนโปรแกรมแบบ Visual ซึ่งหมายถึง การเขียนโปรแกรมด้วยภาพ หรือการเขียนโปรแกรมด้วยสิ่งที่เรามองเห็น ที่เรียกกันว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษาซี (C Language) ภาษาซี เป็นภาษาที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมมาก เป็นภาษาระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ สามารถใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย สามารถสร้างงานกราฟิก สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท โดยมีการคอมไพล์ใหม่ แต่ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมอย่างใด

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

1. super computerจัดเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทะภาพสูงที่สุด เที่ยบกับเครื่องคอมอื่นๆๆเป็นพันๆๆเครื่องใช้ในการประมวณผลข้อมูลที่มีจำนวนมาก
2.ainframe computerจัดเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพรองจาก super computer
3.ini computerจัดเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ประสิทภาพอยู่สูงกว่าpc
4.personal computerหรือเครื่องคอมพวเตอร์ส่วนบุคคล จัดเป็นเครื่องคอมขนาดเล็ก ราคาถูก เหมาะในการใช้งานส่วนตัว ใช้ในสำนักงานมักจะถูกเรียกว่า micocomputer
4.1คอมพิวเอร์ขน่ฃาดสถานีงาน (workstation) จัดเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีประสิทะภาพมากที่สุดประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับงานออกแบบและคำนวณทางวิศวะ
4.2 คอมพิวเอร์ขนาดตั้งโต๊ะ (desktop compuyer) เป็นเครื่องอมพิวเอร์ส่วนบุคคลที่พบได้ทั่วไปตามสำนักงานต่างๆประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก4.3คอมพิวเตอร์กระเป๋า(laptopหรือ notebooks)เป็นเครื่องคอมพพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีความสามรถทัดเทียมกับคอมพิวเตอร์ขนาดั้งโต๊ะ แต่มีขนาดเล็กเท่ากับกระเป๋าสะพาย

โครงสร้างพื้นฐานการทำงานคอมพิวเตอร์

โครงสร้างหลักๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในส่วนของฮาร์ดแวร์ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ โดยที่หน่วยประมวลผลกลางและตัวควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อกันด้วยบัส (BUS) เพื่อให้เข้าถึงหน่วยความจำหลักที่จะใช้ร่วมกันได้ หน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการคือการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก เพื่อทำงานให้กับโปรเซสที่ร้องขอจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ในระบบ โดยการส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น ดักจับสัญญาณการขัดจังหวะ (สัญญาณอินเทอร์รัพต์) จัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและมีส่วนเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนอื่นๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้และไม่ผูกติดกับประเภทของอุปกรณ์ ซึ่งจำแนกโครงสร้างหลักของระบบคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก (Input/output) เป็นส่วนที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ ทำให้ทราบถึงการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้ต้องการเอาไว้ใช้ โดยแยกเป็นหน่วยความจำหลักซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ ROM และ RAM และหน่วยความจำสำรองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก ที่มีหน้าที่นำมาเก็บ ข้อมูลตามที่ต้องการ
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง ที่รับมาจากส่วนของอุปกรณ์นำเข้ามาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การปฏิบัติตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เรียกว่า การเอ็กซีคิ้ว (execute) หรือการรันโปรแกรม
การจัดแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้
ระบบภายใน หรือที่เรียกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วย ซีพียู และหน่วยความจำหลัก
ระบบภายนอก หรือที่เรียกว่าอุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ซึ่งประกอบไปด้วย อุปกรณ์นำข้อมูล เข้า/ออกและหน่วยความจำสำรอง
กล่าวสรุปได้ว่า การติดต่อข้อมูลภายในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำหลักสามารถติดต่อกับซีพียูได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์อื่น แต่ในส่วนของอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก อุปกรณ์ป้อนข้อมูลจะรับส่ง ข้อมูลไปยังซีพียูเพื่อทำการประมวลผลแล้วส่งกลับไปให้ผู้ใช้โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล ซึ่งในการทำงานบางครั้งซีพียูจะส่ง ข้อมูลไปเก็บที่หน่วยความจำสำรองหรือซีพียูต้องขอข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองก่อนส่งกลับไปให้ผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลและที่สำคัญคือการติดต่อระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์รอบข้างจะต้องผ่านแชนแนลและหน่วยควบคุมอุปกรณ์

ฮาร์ดแวร์

หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

ระบบซอฟ์แวร์

ซอท์แวร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงชุดคำสั่งหรือที่เรียกว่า โปรแกรม ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ ดังนั้นซอท์ฟแวร์จึงเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากภาระหน้าที่ของคอมพิวเตอร์มีหลายอย่าง จึงสามารถแยกประเภทของซอท์ฟแวร์ได้ 4 ประเภทคือ
1.ซอท์ฟแวร์ระบบ หมายถึงโปแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทคือ ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า OS เป็นซอท์ฟเวร์หรือโปรแกรมที่มีความสำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ และบังคับบัญชาให้ระบบฮาดร์แวร์ของคอมพิวเตอร์ทำงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ซอท์ฟแวร์ โหลดเดอร์ หรือเรียกที่เรียกว่า IPL ทำหน้าที่ในการอ่านโปรแกรมที่ต้องการใช้งานเข้าไปในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอท์ฟแวร์โหลดเดอร์จะถูกเก็บในส่วนของหน่วยความจำแบบ ROM เมื่อทำการเปิดคอมพิวเตอร์จะทำการอ่านโปรแกรมต่าง ๆ ลงในหน่วยความจำซอท์ฟแวร์แปลภาษา ทำหน้าที่โปแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เพื่อจะได้ทำงานตามคำสั่งของโปรแกรมได้ถูกต้อง สามารถแบ่งลักษณะการทำงานได้ 2 ชนิดคือ
- อินเตอร์พรีเตอร์ คือ ซอท์ฟแวร์แปลภาษาโปรแกรมที่ละคำสั่งและเมื่อแปลเสร็จแล้วก็จะทำงานตามคำสั่งนั้นทันที
- คอมไพเลอร์ คือ ซอท์ฟแวร์แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปแกรมที่อยู่ทั้งหมดก่อน แล้วค่อยทำงานตามคำสั่ง
2. ซอท์ฟวร์ตรวจสอบระบบเครื่อง ใช้ในการตรวจสอบความบกพร่องต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ฃ
3. ซอท์แวร์ประยุกต์ คือซอท์ฟแวร์หรือโปรแกรมที่เขียนเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โปรแกรมเหล่านี้อาจจะเขียนขึ้นมาโดยบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบงานและวิธีการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นอย่างดี หรือเลือกซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป
4. ซอท์แวร์สำเร็จรูป คือซอท์ฟแวร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานในลักษณะ ใดลักษณะหนึ่ง เพื่อใช้งานลักษณะกว้าง ๆ ไม่เจาะจงทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ทุกหน่วยงาน สามารถแบ่งเป็นรประเภทใหญ่ 5 ประเภท
- ประมวลผลคำ ใช้ในการจัดพิมพ์เอกสาร รายงานหรือจดหมาย ซอท์ฟแวร์นี้อำนวยความสะดวกในการพิมพ์อย่างมากทำให้สามารถพิมพ์ได้รวดเร็ว
- สเปรดชีท เป็นเสมือนกระดาษอิเลกทรอนิกส์ที่ใช้วิเคราะห์ทางธุรกิจ มีลักษณะการแบ่งการทำงานเป็นแถวและคอลัมน์ ในการจัดเก็บข้อมูล สามารถคำนวนณแนวโน้มของรายการธุรกิจต่าง ๆ โดยที่สามารถคำนวณใหม่ได้ทันทีเมือมีการเปลี่ยนแปลบงตัวเลขรายการใดรายการหนึ่งของข้อมูลเดิม สามารถใช้ได้ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลขและอักษร
- การจัดการฐานข้อมูล ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล โดยการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ และสามารถนำออกมาใช้งานภายหลังได้ นอกจากนั้นยังสามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ลบ เรียงลำดับ และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยความเร็วสูง โดยทั่วไปเรียกว่า ดาต้าเบส
- สำหรับธุรกิจ เขียนขึ้นเพื่อสำหรับงานด้านธุรกิจโดยเฉพาะ ใช้กับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขด้านการคำนวณเกี่ยวกับการเงิน